หมาก


ชื่อวิทยาศาสตร์
Areca catechu Linn.

ชื่อสามัญ
Betel palm, Betel Nuts, Areca nut , Areca palm,Areca nut palm

ชื่อเรียกอื่น
หมากเมีย(ทั่วไป),หมากสง(ภาคใต้),เซียด(นครราชสีมา),มะ(ตราด),เค็ด,พลา,สะลา(เขมร),สีซะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),หมากมู้(ไทยใหญ่),ปีแน(มลายู),ปิงหวาง(จีนกลาง),ปีงน๊อ(จีนแต้จิ๋ว)

ชื่อวงศ์
ARECACEAE - PALMAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หมากจัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-15เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบ ๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร แต่ส่วนกลางของลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่น และมีเนื้อไม้อ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ จึงทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกเอนได้ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียนหนาแน่นที่ปลายยอด ก้านใบรวมยาวได้ประมาณ 130-200 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแคบ ใบอ่อนมีรอยแยก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบหนามีกาบใบหุ้มลำต้น ดอกหมากหรือจั่นหมากจะเกิดที่ซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วย แกนกลางหรือโคนจั่นยึดติดอยู่ข้อของลำต้น และก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวๆจำนวนมากแตกออกจากแกนกลาง ก้านช่อดอกแต่ละเส้นจะมีดอกหมากติดอยู่ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้จะอยู่ที่ส่วนปลายและดอกตัวเมียจะอยู่ที่ส่วนโคน เมื่อกาบหุ้มจั่นแตกออก ดอกตัวผู้จะบานจากปลายกิ่งแขนงไปหาโคนแขนงหรืออาจจะบานก่อนกาบหุ้มจั่นแตกออกก็ได้ ดอกตัวผู้จะใช้เวลาประมาณ 21 วันจึงหมด หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 วัน ดอกตัวเมียจะเริ่มบานเป็นเวลาประมาณ 3-5 วัน ดอกตัวเมียทีได้รับการผสมละอองเกสรแล้วจะเจริญเติบโตเป็นผลหมากต่อไป ผลออกเป็นทะลาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม รูปกลมรี รูปไข่ รูปไข่ปลายแหลม หรือเป็นรูปกระสวยขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยแล้วผลที่รวกมันเป็นทะลาย ในหนึ่งทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10-150 ผล ผิวผลเรียบ มีกลีบเลี้ยงติดเป็นขั้วผล ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผลดิบหรือผลสดเปลือกผลจะเป็นสีเขียวเข้ม เรียกว่า ?หมากดิบ? ผลเมื่อแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มทั้งผลหรือสีแดงแกมส้ม เรียกว่า ?หมากสุก? หรือ ?หมากสง? ผลประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ เปลือกชั้นนอก , เปลือกชั้นกลาง, เปลือกชั้นใน, และส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ส่วนเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง ภายในผลมีเมล็ดเดียว

การกระจายพันธุ์

สรรพคุณ
หมากจัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-15เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบ ๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร แต่ส่วนกลางของลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่น และมีเนื้อไม้อ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ จึงทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกเอนได้ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียนหนาแน่นที่ปลายยอด ก้านใบรวมยาวได้ประมาณ 130-200 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแคบ ใบอ่อนมีรอยแยก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบหนามีกาบใบหุ้มลำต้น ดอกหมากหรือจั่นหมากจะเกิดที่ซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วย แกนกลางหรือโคนจั่นยึดติดอยู่ข้อของลำต้น และก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวๆจำนวนมากแตกออกจากแกนกลาง ก้านช่อดอกแต่ละเส้นจะมีดอกหมากติดอยู่ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้จะอยู่ที่ส่วนปลายและดอกตัวเมียจะอยู่ที่ส่วนโคน เมื่อกาบหุ้มจั่นแตกออก ดอกตัวผู้จะบานจากปลายกิ่งแขนงไปหาโคนแขนงหรืออาจจะบานก่อนกาบหุ้มจั่นแตกออกก็ได้ ดอกตัวผู้จะใช้เวลาประมาณ 21 วันจึงหมด หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 วัน ดอกตัวเมียจะเริ่มบานเป็นเวลาประมาณ 3-5 วัน ดอกตัวเมียทีได้รับการผสมละอองเกสรแล้วจะเจริญเติบโตเป็นผลหมากต่อไป ผลออกเป็นทะลาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม รูปกลมรี รูปไข่ รูปไข่ปลายแหลม หรือเป็นรูปกระสวยขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยแล้วผลที่รวกมันเป็นทะลาย ในหนึ่งทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10-150 ผล ผิวผลเรียบ มีกลีบเลี้ยงติดเป็นขั้วผล ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผลดิบหรือผลสดเปลือกผลจะเป็นสีเขียวเข้ม เรียกว่า ?หมากดิบ? ผลเมื่อแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มทั้งผลหรือสีแดงแกมส้ม เรียกว่า ?หมากสุก? หรือ ?หมากสง? ผลประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ เปลือกชั้นนอก , เปลือกชั้นกลาง, เปลือกชั้นใน, และส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ส่วนเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง ภายในผลมีเมล็ดเดียว

ช่วงเวลาการออกดอก

วิธีใช้

ข้อควรระวัง

แหล่งอ้างอิง
https://www.disthai.com/17075634/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81

โซน
สวนสมุนไพร  

Close gallery